'นายกฯ'นำถก'ครม.'จ่อเคาะเยียวยาพื้นที่แดงเข้ม ลุ้นไฟเขียวลดค่าเทอม
“นายกฯ” นำถกครม.ผ่านวีดิโอ คอนเฟอเรนซ์ จาก บ้านพัก ขอ WFH 100% หลังประกาศฉ.ที่ 28 มีผลบังคับใช้ พร้อมพิจารณา เคาะจ่ายเงินเยียวยาลูกจ้าง ม.33-39-40 พื้นที่ล็อกดาวน์สีแดงเข้ม ลุ้น งดเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา ลดค่าเทอม
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์จากบ้านพัก ภายในกรมทหารราบ มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ร.1 รอ. ซึ่งเป็นวันแรกหลังการออกประการฉบับที่ 28 ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถาการณ์ฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้ เพื่อยกระดับมาตรการ ควบคุม การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัส โค วิด -19 ที่เข้มข้นขึ้น โดยการ Work from home 100% เพื่อลดการเดินทางของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามายังทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ วาระที่น่าสนใจคือการพิจารณาจ่ายเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 หลังจากศบค. ประกาศยกระดับล็อกดาวน์ขั้นสูงสุดในพื้นที่สีแดงเข้ม เพิ่มเป็น 13 จังหวัด จากประกาศเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา เพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และสภาพัฒน์ นำเสนอ
ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยงบประมาณ 42,000 ล้านบาท (แบ่งเป็นจ่ายเงินเยียวยา 30,000 ล้าน และอุดหนุนค่าน้ำ–ค่าไฟ 1,200 ล้านบาท )
โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับการเยียวยา เป็นเงิน2,500 บาท โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น
ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยา ตามจำนวนลูกจ้าง รายละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างบุคคลธรรมดา จะได้รับเงินโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน นายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคล
กรณีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาล นายจ้างต้องขึ้นทะเบียน e-service เพื่อแจ้งว่าไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามมาตรา 33 โดยระบุให้ชัดเจนว่าลูกจ้างมีกี่คน และหยุดงานตั้งแต่วันใดถึงวันใด
ส่วนลูกจ้างมีหน้าที่กรอกแบบ สปส.2-01/7 และแนบสมุดปัญชีออมทรัพย์ ส่งให้นายจ้างรวบรวมเพื่อนำส่ง สำนักงานประกันสังคม ภายใน 3 วันหลังจากที่ยายจ้างลงทะเบียน e-service แล้ว เพื่อจะได้รับเงินโดยเร็วซึ่งเงินกองทุนประกันสังคมจะจ่าย 50% (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) กรณีว่างงานสูงสุด 90 วัน ทั้งคนไทยและต่างชาติที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
ส่วนวงเงินเยียวยาเพิ่มเติม ตามมติ ครม. มาจากเงินกู้วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยใช้ฐานข้อมูลของประกันสังคม ในส่วนนี้ เจาะจงจ่ายช่วยเหลือเร่งด่วนแก่กลุ่มแรงงานไทยและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด กรณีได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาลใน 9 กิจการ โดยลูกจ้างมาตรา 33 ที่ได้รับเงินจากประกันสังคมเยียวยาเดิมได้รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐบาลจะเพิ่ม่ให้สบทบลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน (รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท)
สำหรับประเภทกิจการที่ได้รับการเยียวยา ประกอบด้วย 1. ก่อสร้าง 2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4. กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 6. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 9. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน โดยแรงงานสามารถเข้าตรวจสอบสิทธิได้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ผู้ประกันตนมาตรา 33 เพียงกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็สามารถตรวจสอบได้ ส่วนนายจ้างสถานประกอบการให้กรอกเลขบัญชีนายจ้าง 10 หลัก และเลขลำดับที่สาขา 6 หลัก
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ซึ่งเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ครั้งล่าสุดนี้ รัฐบาลจะเยียวยา 5,000 บาท โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 ก่อนวันที่ 28 มิ.ย. 2564 ให้รีบสมัครภายในวันที่ 30 ก.ค. 2564 เพื่อสำนักงานประกันสังคม จะได้ส่งข้อมูลนำเข้า ครม. พิจารณาเห็นชอบต่อไป
ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ จะมีการรายงานมาตรการลดภาระผู้ปกครองและนักเรียนในส่วนของค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าเทอมในเบื้องต้น ให้นายกรัฐมนตรี รับทราบ ที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้วางแผนจัดโครงการแพ็คเกจที่เหมาะสมไว้แล้ว
นอกจากนี้ สำนักโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงมายังสื่อมวลชน ว่า ตามที่ ศบค. มีมาตรการให้หน่วยงานรัฐ WFH เต็มจำนวน นั้น หน่วยงานรัฐรับปฏิบัติตามมาตรการ เว้นแต่มีภารกิจที่จำเป็นต้องมาปฏิบัติที่หน่วยงาน เช่น การลงนามสัญญา ฯ ซึ่งจะมีเพียงคณะรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งยังมีความจำเป็นต้องใช้หน่วยงานเป็นที่ประชุมด้วยปัจจัยด้านเทคนิค เอกสารเร่งด่วน พร้อมกับย้ำว่า การปฏิบัติหน้าที่และงานของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีจะใช้ทำเนียบ หรือหน่วยงาน กรณีมีเหตุจำเป็นเท่านั้น
Related Posts
See AllSkip to navigationSkip to content Discover Latest Obsessions These are the core obsessions that drive our newsroom—defining topics of...
The testimony in today’s Congressional investigation into the events of Jan. 6, 2021 was brutal. Witnesses described the melee that...
Skip to navigationSkip to content Discover Latest Obsessions These are the core obsessions that drive our newsroom—defining topics of...
Comentários